บทความ
น้ำรั่วคอนโดใครควรรับผิดชอบ ห้องชั้นบน vs ห้องข้างล่าง vs นิติคอนโด
น้ำรั่วคอนโดใครควรรับผิดชอบ‼️
ห้องชั้นบน vs ห้องข้างล่าง vs นิติคอนโด
.
ปัญหาน้ำรั่วระหว่างห้องเป็นปัญหาหนึ่งที่พบเจอบ่อยมาก และนำมาซึ่งข้อพิพาทระหว่างเจ้าของห้องชั้นบนและห้องชั้นล่าง ว่าใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมแซม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหาสาเหตุมาให้ได้ก่อน....ว่ามาจากไหน จะหาทางแก้ไขและใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการซ่อมแซมค่ะ
.
หากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ในเบื้องต้นควรติดต่อนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นผู้ดูแล ให้จัดหาช่างประจำคอนโดฯมาตรวจสอบหาสาเหตุและค้นหาว่าน้ำรั่วซึมมาจากส่วนใดของอาคาร เพื่อที่จะได้เรียกเจ้าของห้องที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาตกลงหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
.
1. หากการรั่วซึมมาจากส่วนกลางของอาคาร เช่นท่อประปาหรือท่อน้ำทิ้งส่วนที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อันเป็นทรัพย์ส่วนกลาง
- นิติบุคคลอาคารชุดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมท่อส่วนที่ชำรุด รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่เจ้าของห้องที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายด้วย
- นิติบุคคลอาคารชุดต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมท่อส่วนที่ชำรุด รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดแก่เจ้าของห้องที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายด้วย
.
2.หากเป็นท่อส่วนที่ใช้ประโยชน์ของห้องหนึ่งห้องใดโดยเฉพาะ อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคล
- เจ้าของห้องนั้น ๆ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเอง
- เจ้าของห้องนั้น ๆ ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเอง
.
โดยส่วนใหญ่ปัญหาน้ำรั่วระหว่างห้องมักเกิดจากห้องน้ำชั้นบนเป็นหลัก เพราะมีการก่อสร้างหรือเกิดจากอุปกรณ์ห้องน้ำในห้อง เช่นปากท่อระบายน้ำทิ้ง ยาแนวพื้นกระเบื้องสึกกร่อน และท่อน้ำประปาที่ฝังในกำแพงห้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำขังซึมลงไปยังห้องด้านล่าง สร้างความเสียหายแก่ฝ้าเพดาน ผนังและเฟอร์นิเจอร์
.
ในกรณีนี้ เจ้าของห้องชั้นบนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมห้องข้างล่างทั้งหมด เพราะเป็นผู้ที่ก่อความเสียหายแก่ห้องชั้นล่างและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจดู และรีบซ่อมแซม
.
หากเจ้าของห้องชั้นบนเพิกเฉย เจ้าของห้องชั้นล่างสามารถดำเนินการตามกฎหมาย โดยใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายและให้เจ้าของห้องชั้นบนดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้อยู่ในสภาพเดิมได้
.