บทความ

< กลับ

วิธีรับมือเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม

วิธีรับมือเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม

วิธีรับมือเมื่อรู้ว่าจะเกิดน้ำท่วม

           - จัดเก็บเอกสารสำคัญไว้ในซองกันน้ำ เช่น บัตรประชาชน บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน เอกสารเกี่ยวกับรถ เอกสารทางการเงินและธนาคาร รวมถึงสมุดโน๊ต ดินสอ และช่องทางสำหรับขอความช่วยเหลือต่าง ๆ


          - เตรียมสิ่งของจำเป็นเอาไว้ใช้ยามเกิดภัย เช่น น้ำ อาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้า ถุงนอน ผ้าห่ม เอกสารสำคัญ ไฟฉายและถ่าน ไม้ขีดและไฟแช็ค กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ยากันยุง ถุงดำ เชือก นกหวีด เทปกาว รองเท้าแตะ มีดพก และเสื้อชูชีพ (ถ้ามี)

          - ตุนน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้ให้ได้มากที่สุด

          - ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้พร้อมไว้ตลอดเวลา

          - ปิดช่องปลั๊กไฟเพื่อป้องกันน้ำเข้าและป้องกันไฟดูด

          - ยกของใช้ในบ้านขึ้นที่จำเป็นและสำคัญขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันความเสียหาย

          - ปิดจุดที่น้ำจะเข้าบ้าน เช่น ใช้กระสอบทรายกันน้ำ ติดแผงกั้นน้ำ ก่ออิฐอันน้ำ และอุดช่องน้ำทิ้งหรือท่อน้ำบนพื้น เป็นต้น

          - ย้ายผู้ป่วย เด็ก คนชรา และสัตว์เลี้ยงไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย

          - ย้ายยานพาหนะทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ไปไว้ในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

ในกรณีที่น้ำท่วมฉับพลัน หรือต้องอพยพออกจากบ้านกะทันหัน ควรปฏิบัติตัวดังนี้

          - ปิดระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อย พร้อมทั้งปิดแก๊สและเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
         
          - สวมเสื้อผ้าที่กระฉับกระเฉงและมีโทนสีสว่างเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหวและสังเกตเห็น

          - ฉีดสเปรย์หรือทายาป้องกันยุงและแมลง

          - ห้ามเข้าใกล้สายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

          - หลีกเลี่ยงการเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล

          - กลับเข้าที่เดิม หากรู้สึกไม่ปลอดภัย หรือรู้สึกถึงกระแสไฟในน้ำ แล้วแจ้งขอความช่วยเหลือ

น้ำท่วม เป็นภัยจากธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองและทรัพย์ของเราได้ ด้วยการรับมือเตรียมความพร้อม โดยการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จัดเก็บข้าวของให้พร้อม และอพยพไปยังที่ปลอดภัย รวมถึงการทำ ประกันภัยบ้าน ไว้สามารถบรรเทาการเสี่ยงที่จะสูญเสียและเสียหาย ทั้งตัวอาคารและทรัพย์สินภายใน


ขอบคุณข้อมูลจาก กรมทรัพยากรน้ำ, หน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ, cicc.chula.ac.th และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย