บทความ

< กลับ

วิธีดูแลบ้านในฤดูฝน

วิธีดูแลบ้านในฤดูฝน

ดูแลบ้านในฤดูฝน 

        เมื่อสายฝนเริ่มโปรยปราย พัดพาความฉ่ำเย็นมาให้บ้านของเรา หลายคนก็คงอยากดื่มด่ำไปกับบรรยากาศสดชื่น รับลมและละอองน้ำชุ่มฉ่ำในฤดูฝนนี้ หลังจากที่ต้องฝ่าแดดและลมร้อนกันมานาน แต่ก็อาจมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่มักมาพร้อมหน้าฝนอยู่บ้าง จึงมีวิธีเตรียมพร้อม รับมือ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในฤดูฝนนี้มาฝากกัน

     
 ตรวจเช็กบ้านให้รอบด้าน  ในหน้าฝน แน่นอนว่าปัญหาที่มากับน้ำซึ่งอาจส่งผลกระทบกับบ้านมีได้หลายช่องทาง ดังนั้นจึงควรมีการตรวจตราส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เพื่อป้องกันและแก้ไขได้ทันท่วงที อาทิ

     
 หมั่นตรวจสอบจุดรั่วซึมของบ้าน จุดที่มีโอกาสเกิดการรั่วซึมมาก ได้แก่ หลังคา ฝ้าเพดาน ผนัง และตามรอยต่อของวัสดุต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบง่าย ๆ คือสังเกตรอยรั่ว ซึมแตกร้าวตามหลังคา ฝ้าเพดาน ผนัง และสังเกตรอยต่อของวัสดุต่าง ๆ เช่น ช่องหน้าต่าง ประตู ว่ามีร่องรอยของน้ำ หรือคราบรอยน้ำหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ส่วนใหญ่จะทราบเมื่อเกิดปัญหามาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่หากพบเมื่อไหร่ควรรีบดำเนินการให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขโดยเร็วที่สุด

     
 ตรวจเช็กรางน้ำฝน ดูแลอย่าให้มีเศษใบไม้ หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันในรางน้ำฝน เพราะเมื่อเกิดฝนตกหนักอาจทำให้น้ำเกิดการรั่วซึมกลับเข้าไปภายในบ้านได้ และหากหลังคาส่วนไหนที่ยังไม่มีรางน้ำฝนรองรับ ก็ควรมีการจัดเตรียมไว้ให้พร้อม เพราะไม่อย่างนั้นสายน้ำที่ตกลงมาจากหลังคาอาจจะกระเซ็นไปยังจุดต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อบ้านได้

     
 ทำความสะอาดท่อระบายน้ำหรือบ่อดักขยะ เพื่อป้องกันการอุดตันในท่องระบาย ที่อาจส่งผลทำให้เกิดน้ำขังได้ นอกจากนี้การกวาดเศษใบไม้ กิ่งไม้ บริเวณรอบ ๆ บ้านก็มีส่วนสำคัญเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้ไหลลงไปอุดตันยังท่อระบายน้ำ

     
 หน้าฝนเป็นช่วงที่เหมาะกับการลงต้นไม้ อาจใช้ช่วงนี้เป็นการชวนลูก ๆ และคนในบ้านมาทำกิจกรรมร่วมกัน นอกจากสร้างความอบอุ่นในครอบครัวแล้ว ยังได้สวนสวย ๆ ไปพร้อมกัน



เตรียมพื้นที่รอบบ้านรับหน้าฝน

      » นอกจากการตรวจเช็กส่วนต่าง ๆ ของบ้านแล้ว การเตรียมพื้นที่และปรับปรุงบ้านให้พร้อมรับหน้าฝนก็เป็นส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตัดกิ่งไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวบ้านเพื่อป้องกันลมพายุที่อาจพัดแรงจนกิ่งไม้หักมากโดนตัวบ้านหรือคนในบ้านให้เกิดอันตรายได้ และยังป้องกันช่องทางไม่ให้สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ เข้ามาสู่ตัวบ้าน

      » นอกจากนี้การเช็กสภาพพื้นผิวรอบบ้านก็เป็นอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะพื้นรอบบ้าน เช่น ลานจอดรถ, ทางเดินภายนอก ซึ่งมีพื้นผิวลื่น เมื่อโดนน้ำหรือเกิดน้ำท่วมขังอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มได้ จึงควรเลือกใช้วัสดุปูพื้นภายนอกที่ระบายน้ำได้ดี และมีพ้นผิวไม่เรียบจนเกินไป

      » สำหรับพื้นที่ภายในบ้าน หากมีส่วนใดของบ้านที่มีโอกาสโดนฝนสาดได้ เช่น ห้องที่มีหน้าต่างเยอะ ๆ ศาลา หรือพื้นส่วนขานบ้านที่จัดไว้ นั่งพักผ่อน ควรเลือกวัสดุปูพื้นที่ สามารถโดนน้ำได้ เช่น หากเป็นพื้นไม้ ควรเลือกใช้เป็นไม้สังเคราะห์ที่มีความทนทานต่อสภาพอากาศ แข็งแรง และใช้งานได้ทั้งภายนอกภายใน
      
      » หากส่วนไหนของบ้านที่เกิดโล่งเกินไป ควรทำกันสาดหรือชายคายื่นออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้ฝนสาดเข้าไปกระทบกับผนังหรือช่องเปิดต่าง ๆ ทั้งประตู หนังต่าง ที่อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและมีควาบเชื้อราสะสมได้

.

      ¤ เมื่อดูแลบ้านกันเรียบร้อยแล้ว หากมีหลายคนที่ยังอดห่วงไม่ได้ กลัวว่าหากภัยพายุ ลูกเห็บเกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายกับบ้านที่เรารักอีกล่ะก็ ยังมีอีกหนึ่งเกราะคุ้มกันภัย คือ ประกันภัยบ้าน ยังอุ่นใจเมื่อภัยมา  ประกันบ้าน คุ้มครองทุกภัย ช่วยคุณได้เมื่อภัยมา